To leave this site quickly, click the Quick Exit button below. Learn more about Quick Exit button here. If you don’t want your browser history saved, please open incognito browsing mode. Learn more about incognito mode here.  In an emergency, call 000.

เกี่ยวกับการวางแผนรักษาความปลอดภัย

การวางแผนรักษาความปลอดภัยคือหนทางการคิดและการพัฒนาแผนปฏิบัติการจริงเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยขึ้น

การใช้ความรุนแรงต่อคู่สมรสและภายในครอบครัว: การวางแผนเพื่อดูแลตนเอง

การใช้ความรุนแรงต่อคู่สมรสและภายในครอบครัว: การวางแผนเพื่อดูแลตนเอง

1800RESPECT

การใช้ความรุนแรงต่อคู่สมรสและภายในครอบครัว: การวางแผนเพื่อดูแลตนเอง

มีวิธีที่หลากหลายในการวางแผนรักษาความปลอดภัย ในแต่ละแผนนั้นจะต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล และแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัย ซึ่งแผนการอาจจะเปลี่ยนได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป

ในแผนรักษาความปลอดภัยนั้นจะช่วยในการค้นหาและแสดงทางเลือกรวมไปถึงความคิดที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย เมื่อมีเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างครอบครัวและความสัมพันธ์เกิดขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถช่วยผู้ที่ประสบปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศเมื่อรู้ผู้กระทำผิด

ครอบครัวและเพื่อนมีบทบาทสำคัญที่จะให้การช่วยเหลือ สนับสนุน และให้ข้อมูล

นอกจากนั้นบริการช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว ความสัมพันธ์ และผู้ถูกทำร้ายทางเพศก็มีอยู่ เพื่อช่วยจัดการและให้ความช่วยเหลือ  บริการเหล่านี้สามารถช่วยคิดเกี่ยวกับทางเลือก

ทำความเข้าใจกับการวางแผนความปลอดภัย

ท่านอาจจะกำลังวางแผนความปลอดภัยเพื่อตัวท่านเอง หรือกับสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนที่ประสบความรุนแรง  

แผนการความปลอดภัยสำหรับท่าน

ถ้าท่านกำลังวางแผนความปลอดภัยเพื่อตัวท่านเอง ท่านคงจะรู้ดีอยู่แล้วว่าอะไรใช้ได้ผลและไม่ได้ผล นี่คือจุดแข็ง  ขอให้คิดเกี่ยวกับสิ่งที่ใช้ได้ผล แล้วตรวจดูรายการข้างล่างนี้ เพื่อดูว่ายังมีทางเลือกอื่นๆอีกไหมที่จะช่วยท่านสร้างแผนปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัย

ต่อไปนี้คือสิ่งสำคัญบางอย่างที่ต้องตระหนักเมื่อท่านทำแผนการความปลอดภัยสำหรับตนเอง:

  • ผู้ทำร้ายเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการใช้ความรุนแรง  การพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความรุนแรงอาจทำให้ท่านรู้สึกเหมือนท่านกำลัง ‘เดินอยู่บนเปลือกไข่’ เพราะผู้ที่ข่มเหงรังแกมักจะหาเหตุผลและข้ออ้างเพื่อให้ความชอบธรรมกับความโกรธและการบรรลุแก่โทสะเพื่อควบคุม  การคิดหาวิธีการเพิ่มความปลอดภัยไม่ใช่การแสดงความรับผิดชอบต่อความรุนแรง หรือ ‘เรื่องร้าย’ ที่เกิดขึ้น

  • แผนการความปลอดภัยจะต้องปรับให้ทันสมัยอยู่เรื่อยๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนไป เช่น การท้อง มีเด็กอ่อน  หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตความเป็นอยู่  

  • บริการช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวและในความสัมพันธ์สามารถช่วยท่านได้ และให้ไอเดียเพิ่มเติมจากที่ท่านมีอยู่แล้ว  โปรดตรวจดู ที่นี่สำหรับบริการในพื้นที่ [เป็นภาษาอังกฤษ] หรือโทรถึง 1800RESPECT ที่หมายเลข 1800 737 732

แผนการความปลอดภัยสำหรับครอบครัวและเพื่อน

เมื่อทำแผนการความปลอดภัยสำหรับคนที่ประสบความรุนแรง ให้เริ่มต้นด้วยการรับฟัง ผู้หญิงคือคนที่รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับสถานการณ์ของตัวเอง  ก่อนอื่นให้ฟัง และถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น  นี่จะช่วยให้ท่านเข้าใจถึงความเสี่ยง   ค้นหาว่าเธอทำอะไรไปแล้วบ้างเพื่อเพิ่มความปลอดภัย  แล้วใช้ข้อมูลนั้นเพื่อช่วยเธอคิดว่าอาจจะทำอะไรได้อีกเพื่อเพิ่มความปลอดภัย  รายการข้างล่างนี้อาจให้แนวคิดท่านได้บ้างเกี่ยวกับการพัฒนาแผน  แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกแนวคิดจะเหมาะสมเสมอไป 

พึงรำลึกว่าอาจมีผู้ทำร้ายหลายคนและความต้องการส่วนตัวอื่นๆที่อาจส่งผลต่อแผน

จำไว้ว่า งานของท่านไม่ใช่การตัดสินคนหรือการตัดสินใจ   ‘การออกจากบ้านไปเลย’ ไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัยเสมอไป  เรารู้ว่าการตีจากเป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตและความปลอดภัยมากที่สุด  โปรดทำงานกับเพื่อนและสมาชิกครอบครัวของท่าน เพื่อสร้างแผนที่ใช้ได้จริงกับตัวเธอ

ต่อไปนี้คือสิ่งสำคัญบางอย่างที่ควรจดจำเมื่อทำแผนการรักษาความปลอดภัยสำหรับเพื่อนและครอบครัว:

  • แผนการความปลอดภัยอาจเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ที่ไว้ใจได้  ความสัมพันธ์นี้อาจเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดสำหรับเหยื่อ /ผู้รอดชีวิต

  • ถ้ามีเด็กๆอยู่ด้วย ท่านอาจพบว่าวีดีโอเรื่อง ดูแลเด็กๆให้ปลอดภัย เป็นประโยชน์อย่างมาก

  • ท่านอาจมี ความรับผิดชอบที่จะต้องทำการรายงาน [เป็นภาษาอังกฤษ] ถ้าเด็กๆมีความเสี่ยงจะได้รับอันตราย

  • ท่านอาจต้องใช้บริการที่เชี่ยวชาญเพื่อช่วยเหลือท่าน  ถ้าผู้หญิงต้องการบริการเหล่านี้ โปรดแนะนำให้ไปหาผู้เชี่ยวชาญในด้านความรุนแรงในครอบครัว ด้านกฎหมาย ด้านวัฒนธรรม และการช่วยเหลือต่อเนื่อง โปรดตรวจดู ที่นี่สำหรับบริการในพื้นที่ [เป็นภาษาอังกฤษ] หรือโทรศัพท์ถึง 1800RESPECT ที่หมายเลข 1800 737 732

Developed with: Domestic Violence Resource Centre Victoria